ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงการศึกษาต่อบุตร – หลานสมาชิกสหกรณ์

374

ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของบุตร – หลานสมาชิกสหกรณ์

วันที่ 18 ตุลาคม 2565 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของบุตร – หลานสมาชิกสหกรณ์ โดยมี ศาสตราจารย์บัณฑิต เต็งเจริญสกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมในการลงนามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว พร้อมด้วย นายนิรันดร์ มูลธิดา รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์  และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ณ ห้องประชุม 226 ชั้น อาคาร 1 กรมส่งเสริมสหกรณ์สหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพมหานคร

       สำหรับพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อขยายความร่วมมือในการสนับสนุนทุนการศึกษาให้กับบุตร – หลานสมาชิกสหกรณ์นั้น กรมส่งเสริมสหกรณ์จะจัดสรรดอกผลจากเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) มาสนับสนุนเป็นทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี สาขาสัตวแพทยศาสตร์ และสาขาสัตวศาสตร์ ให้กับบุตร – หลานสมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม จำนวน 145 ทุน ซึ่งเป็นทุนอุดหนุนจ่ายขาดให้ตลอดหลักสูตรกำหนดระยะเวลาของโครงการไว้ 3 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 – 2568 โดยแบ่งเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 30 ทุน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 30 ทุน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 15 ทุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 18 ทุน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 49 ทุน และมหาวิทยาลัยขอนแก่น 3 ทุน

       ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ต่อยอดจากปี 2560 ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ร่วมกับสถานศึกษาต่าง ๆ ดำเนินโครงการความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อสานต่ออาชีพการเลี้ยงโคนม ซึ่งเป็นอาชีพพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โดยเปิดโอกาสบุตร วันที่ 18 ตุลาคม 2565 นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของบุตร – หลานสมาชิกสหกรณ์ – หลานสมาชิกสหกรณ์โคนม หรือสหกรณ์การเกษตรที่สมาชิกเลี้ยงโคนม เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีสาขาที่เกี่ยวข้องกับอาชีพเลี้ยงโคนม ได้แก่ สาขาสัตวแพทยศาสตร์ และสาขาสัตวศาสตร์ และกรมฯ ได้จัดสรรดอกผลจากเงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์มาสนับสนุนเป็นทุนการศึกษา เพื่อให้ลูกหลานสมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมได้นำความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย กลับไปต่อยอดอาชีพเลี้ยงโคนมและพัฒนาฟาร์มโคนมของครอบครัว เพื่อช่วยพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคนมและธุรกิจของสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมให้มีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น และในโอกาสต่อไป กรมฯ มีแนวโน้มที่จะขยายความร่วมมือไปยังสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ที่มีความพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการจัดสรรโควตารับนิสิตเข้าศึกษาต่อ รวมทั้งจะดึงสหกรณ์เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนด้านการศึกษาให้กับลูกหลานสมาชิกสหกรณ์ด้วย