กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จัดการประชุมสัมมนาวิชาการ ประจำปี ๒๕๖๖

220

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จัดการประชุมสัมมนาวิชาการ ประจำปี ๒๕๖๖ เรื่อง “กตส.ยกระดับ ขับเคลื่อนองค์กรสู่อนาคต CAD : Shift & Change for the Future” มุ่งยกระดับคุณภาพงานสอบบัญชีและการควบคุมภายใน สร้างความเข้มแข็งและความโปร่งใสแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรอย่างยั่งยืน เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นหน่วยงานภาครัฐยุคดิจิทัล

นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าวว่าปัจจุบันสหกรณ์มีการดำเนินธุรกิจที่มีหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น ตลอดจนมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการ อาจนำมาสู่ปัจจัยเสี่ยงในการดำเนินงาน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์จึงมุ่งมั่นยกระดับ ขับเคลื่อนพัฒนาความเข้มแข็งด้านการเงินการบัญชีแก่สหกรณ์ ภายใต้วิสัยทัศน์ “ตรวจสอบบัญชีและส่งเสริมการทำบัญชี เพื่อสร้างความเข้มแข็ง โปร่งใสแก่สหกรณ์และเกษตรกร” สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่านการตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานวิชาชีพ พัฒนาระบบการบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชีและเสริมสร้างการควบคุมภายในที่ดี นำมาซึ่งการสร้างความเข้มแข็งทางการเงินการบัญชีแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร อันส่งผลให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีระบบการเงินการบัญชีและการควบคุมภายในที่ดี สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างโปร่งใส สร้างความเชื่อมั่นให้สมาชิก สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรได้รับการตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ ช่วยยกระดับศักยภาพสถาบันเกษตรกร

ในส่วนของการตรวจสอบบัญชื ได้ให้นโยบายให้ผู้สอบบัญชีสหกรณ์มุ่งตรวจสอบบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ พร้อมทั้งนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ รวมทั้งมุ่งปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี (TSQC1) และให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลและตรวจสอบคุณภาพการสอบบัญชีสหกรณ์อย่างเข้มข้น นอกจากนี้กรมฯ ยังได้เตรียมความพร้อมยกระดับการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชี(TSQC1) พัฒนาสู่มาตรฐานการบริหารคุณภาพงานสอบบัญชี  (TSQM) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล กฎหมายที่เกี่ยวข้องและข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณ รวมถึงเน้นย้ำการรายงานข้อสังเกตจากการตรวจสอบรวมถึงจุดอ่อนจากการควบคุมภายในให้ทันต่อสถานการณ์ และให้คำปรึกษาแนะนำแก่สหกรณ์เพื่อให้สามารถดำเนินการแก้ไขตามข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ รวมไปถึงส่งเสริมให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สามารถใช้ข้อมูลทางการเงินการบัญชีในการวางแผนบริหารจัดการ โดยใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทันและเกิดประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและสร้างความโปร่งใส พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ในยุคปัจจุบัน

นอกจากนี้ กรมฯมีความพร้อมในการยกระดับขับเคลื่อนองค์กรสู่อนาคต มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ภายใต้โครงการ “THINK & DO TOGETHER” บูรณาการความร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมกำหนดแนวทาง นำข้อสังเกตมาแก้ไข โดยบูรณาการความร่วมมือ ๕ ฝ่าย ได้แก่ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ ฝ่ายจัดการสหกรณ์ ผู้ตรวจสอบกิจการสหกรณ์ ผู้สอบบัญชีสหกรณ์ (กรมตรวจบัญชีสหกรณ์) และผู้ตรวจการสหกรณ์ (กรมส่งเสริมสหกรณ์) ซึ่งเริ่มนำร่องดำเนินโครงการแล้วในปี 2566 นอกจากนี้ กรมฯ มีแผนจะต่อยอดการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องทุกจังหวัดทั่วประเทศในปี 2567 เพื่อยกระดับความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชี และการควบคุมภายในแก่สหกรณ์ รวมทั้งเพื่อบูรณาการและสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างสหกรณ์ ภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนผลักดันให้สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ความสำคัญกับการตรวจสอบข้อมูลการทำธุรกรรมกับสหกรณ์ โดยใช้แอปพลิเคชัน Smart Member สำหรับสมาชิกในการตรวจสอบข้อมูลของตนเองได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นการสร้างความศรัทธาและสร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิกสหกรณ์ รวมทั้งสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาสหกรณ์สู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนร่วมกัน

สร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมในการให้บริการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สามารถใช้ข้อมูลทางการเงินในการวางแผนบริหารจัดการโดยให้ความช่วยเหลือสอนแนะการจัดทำบัญชีแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการและบุคลากรในสหกรณ์ให้มีความรู้และสามารถนำข้อมูลทางบัญชีมาใช้ในการบริหารจัดการ เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้สหกรณ์มีการใช้เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรและทันต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง อาทิ การใช้งานโปรแกรมเครื่องมือเฝ้าระวังและเตือนภัยทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร CFSAWS:ss โปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ครบวงจร (FAS) และนวัตกรรม Smart4M ที่พัฒนาโดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มาเป็นเครื่องมือช่วยบริหารจัดการงานสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ในปี 2567 กรมฯ มีแผนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการวิเคราะห์และเตือนภัยทางการเงินเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้สอบบัญชี รวมไปถึงสหกรณ์และหน่วยงานกำกับดูแลได้ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนงานในอนาคตได้

สร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมในการให้บริการสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สามารถใช้ข้อมูลทางการเงินในการวางแผนบริหารจัดการโดยให้ความช่วยเหลือสอนแนะการจัดทำบัญชีแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการและบุคลากรในสหกรณ์ให้มีความรู้และสามารถนำข้อมูลทางบัญชีมาใช้ในการบริหารจัดการ เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้สหกรณ์มีการใช้เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรและทันต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง อาทิ การใช้งานโปรแกรมเครื่องมือเฝ้าระวังและเตือนภัยทางการเงินของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร CFSAWS:ss โปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ครบวงจร (FAS) และนวัตกรรม Smart4M ที่พัฒนาโดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ มาเป็นเครื่องมือช่วยบริหารจัดการงานสหกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ในปี 2567 กรมฯ มีแผนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการวิเคราะห์และเตือนภัยทางการเงินเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้สอบบัญชี รวมไปถึงสหกรณ์และหน่วยงานกำกับดูแลได้ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนงานในอนาคตได้

ทั้งนี้ การประชุมสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2566 ในหัวข้อ “กตส.ยกระดับขับเคลื่อนองค์กรสู่อนาคต CAD : Shift & Change for the Future” จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๘ – ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ โรงแรมเฮอริเทจ เชียงราย แอนด์ คอนเวนชั่น อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรและผู้บริหารกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ รับทราบทิศทางการดำเนินงานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ในอนาคต เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นหน่วยงานภาครัฐยุคดิจิทัล และเป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิชาการ นวัตกรรมทางวิชาการ การอภิปรายและการประชุมกลุ่มย่อยจากกรณีศึกษาของการสอบบัญชี รวมถึงการจัดแสดงนิทรรศการ และการบรรยายความรู้ในประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ แนวคิด TRIPLE C ยกระดับ ขับเคลื่อน งานกตส.สู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของสหกรณ์ ความท้าทายของผู้สอบบัญชีในยุคดิจิทัล และการเสวนา หัวข้อ ปักหมุด 5 Cluster ธุรกิจสหกรณ์ เป็นต้น เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็น ประสบการณ์ ได้รับความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสัมฤทธิ์

“กรมฯ ได้สนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ของบุคลากรให้มีความรู้เท่าทัน ทั้งความรู้ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพและความรู้ด้านการบริหารและการให้บริการในองค์กรดิจิทัลภาครัฐ ในด้านการตรวจสอบบัญชี ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเงินการบัญชีแก่สหกรณ์และสถาบันเกษตรกร และการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านบัญชีแก่เกษตรกรและประชาชน เพื่อใช้วางแผนการประกอบอาชีพและในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยสำคัญให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร สามารถใช้ข้อมูลทางการเงินในการวางแผนบริหารจัดการ มีระบบการควบคุมภายในที่ดี และมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน เพื่อนำมาสู่การพัฒนาสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้ความเข้มแข็งอย่างมั่นคงและยั่งยืน” อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กล่าว

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ข่าว