มกอช. เป็นปธ.มอบโล่รางวัล ฟาร์มมาตรฐานสินค้าเกษตรฯ ระยะที่ 2

278

มกอช.เป็นประธานพิธีมอบโล่รางวัลและประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ชนะการประกวดฟาร์มมาตรฐานสินค้าเกษตรภายใต้โครงการสร้างเครือข่ายอาหารปลอดภัยจากเกษตรกรรุ่นใหม่สู่ชุมชน ระยะที่ 2

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เป็นประธานพิธีมอบโล่รางวัลและประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ชนะการประกวดฟาร์มมาตรฐานสินค้าเกษตรภายใต้โครงการสร้างเครือข่ายอาหารปลอดภัยจากเกษตรกรรุ่นใหม่สู่ชุมชน ระยะที่ 2 พร้อมด้วยนางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการ มกอช. และผู้แทนจากกรมประมง กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว สถาบันการอาชีวศึกษา ผู้บริหารและอาจารย์ที่ปรึกษา นักศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ผู้บริหาร มกอช. และบุคลากร มกอช. รวม 60 คน ณ ห้องประชุม มกอช. และผ่านระบบ Zoom Meeting

พิธีมอบโล่รางวัลและประกาศเกียรติคุณนี้ จัดขึ้นเพื่อเป็นการยกย่องและให้กำลังใจแก่นักศึกษาวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีที่มีการนำมาตรฐาน GAP และเกษตรอินทรีย์ ไปใช้ปฏิบัติและช่วยเผยแพร่สู่ชุ่มชน ซึ่งปีนี้มีนักศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เข้าร่วมประกวด จำนวน 12 แห่ง ครอบคลุมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ มีโครงการที่ส่งเข้าร่วมประกวดทั้งหมด 23 โครงการ แบ่งเป็นขอบข่าย GAP พืชอาหาร 7 โครงการ ขอบข่าย GAP ข้าว 2โครงการ ขอบข่าย GAP ประมง 7 โครงการ ขอบข่าย GAP ปศุสัตว์ 6 โครงการ และขอบข่ายเกษตรอินทรีย์ 1 โครงการ และผ่านการคัดเลือกรอบตัดสิน 15 โครงการ ทั้งนี้ มีโครงการและหน่วยงานที่ได้รับรางวัลดังนี้

1. ขอบข่าย GAP ข้าว

  • รางวัลชนะเลิศ: การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าว (มกษ. 4401-2551)
    – โครงการข้าวไร่หอมดอกพยอม GAP สู่วิถีพอเพียง จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1: การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวหอมมะลิไทย (มกษ. 4400-2552)
    – โครงการข้าวหอมดอกมะลิเกษตรศรีฯ จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ

2. ขอบข่ายเกษตรอินทรีย์ (มกษ.9000-2564)

  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 : โครงการเห็ดนางฟ้าอินทรีย์สู่วิถีชุมชน จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ

3. ขอบข่าย GAP พืชอาหาร (มกษ. 9001-2564)

  • รางวัลชนะเลิศ : โครงการผักกาดหอม GAP สร้างอาชีพสู่ชุมชน จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 : โครงการปลูกผักปลอดสารพิษเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน GAP จาก วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 : โครงการปลูกกระชายด้วยมาตรฐาน GAP จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี สุพรรณบุรี
  • รางวัลชมเชย : โครงการปลูกข้าวโพดหวานมาตรฐาน GAP จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลา

4. ขอบข่าย GAP ประมง (มกษ.7436-2563)

  • รางวัลชนะเลิศ : โครงการเลี้ยงปลาดุกระบบปิดน้ำหมุนเวียนแบบควบคุมคุณภาพน้ำอย่าง จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 : โครงการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยตามระบบ GAP จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสงขลา
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 : โครงการเลี้ยงกบสร้างอาชีพ สู่ชุมชนระยะที่ 2 ตามระบบ GAP จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช
  • รางวัลชมเชย : โครงการปลาดุกปลอดภัย ผู้ผลิตมั่นใจ ผู้บริโภคปลอดโรค ตามการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค (มกษ. 7436-2563) จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ

5. ขอบข่าย GAP ปศสัตว์

  • รางวัลชนะเลิศ GAP ฟาร์มสัตว์ปีกแบบเลี้ยงปล่อย (มกษ. 6916-2565)
    – โครงการเป็ดบ้านนาสุขภาพดีมีมาตรฐานจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีระนอง
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 GAP ฟาร์มไก่ไข่ (มกษ. 6909-2562)
    – โครงการ “ไข่ไก่ปลอดภัย ห่วงใยชุมชน” ด้วย การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลพบุรี
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 GAP ฟาร์มไก่พื้นเมืองแบบเลี้ยงปล่อย (มกษ. 6914-2560)
    – โครงการไก่พื้นเมืองสร้าง อาชีพ สู่ชุมชนระยะที่ 2 ตามระบบ GAP จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช
  • รางวัลชมเชย GAP ฟาร์มไก่เนื้อ (มกษ.690 1-2560)
    – โครงการเลี้ยงไก่เนื้อสามสายตามมาตรฐาน GAP จาก วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี

โครงการสร้างเครือข่ายอาหารปลอดภัยจากเกษตรกรรุ่นใหม่สู่ชุมชน ระยะที่ 2 เป็นกระบวนการสร้างองค์ความรู้ด้านการมาตรฐาน โดยใช้โครงการฟาร์มมาตรฐานสินค้าเกษตร เป็นสื่อการเรียนรู้เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา การฝึกตั้งคำถาม การค้นคว้า จดบันทึก และหาทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เป็นอีกก้าวในการส่งเสริม สนับสนุนเยาวชนไทย ซึ่งถือว่าเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ให้เห็นความสำคัญของภาคการเกษตร รวมถึงเป็นกำลังสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานในระบบการเกษตรของประเทศ และพัฒนาสินค้าเกษตรของไทยสู่มาตรฐานสากล แนวทางปฏิบัตินี้ ถือเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนานักเรียนด้วยทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่ประเทศไทยต้องเร่งสร้างให้เกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ข่าว