ราคายางพักฐาน ปรับสู่จุดสมดุล

167

ราคายางพักฐาน ปรับสู่จุดสมดุล การยางฯ มั่นใจราคาคงระดับ และมีแนวโน้มสดใสต่อในช่วงครึ่งปีหลัง

ราคายางแผ่นรมควันย่อตัวลงเล็กน้อยเพื่อปรับฐานสู่สมดุลยางแต่ละชนิด หลังพุ่งทะยานต่อเนื่องตั้งแต่ตุลาคม 2566 คาดราคาจะยังคงระดับและสามารถดีดตัวขึ้นได้จากปัจจัยพื้นฐานความต้องการยางล้อที่ยังสูง และการจัดระบบยางไทยที่รองรับกฎ EUDR

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ราคายางแผ่นรมควัน ชั้น 3 ในตลาดกลางยางพาราปัจจุบันมีการปรับตัวลงมาบ้างเล็กน้อย เนื่องจากที่ผ่านมาราคายางแผ่นรมควันปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่ตุลาคม 2566 โดยราคาแตะสูงสุด ณ ตลาดกลางยางพาราสงขลา เมื่อวันที่ 18 มีนาคม ที่ผ่านมาที่ราคา 94.44 บาท/กก. ดังนั้น การที่ราคายางที่ปรับตัวลงบ้างเป็นเรื่องของการ “ย่อตัว” ลงเล็กน้อยของราคายางแผ่นรมควันในตลาดเพื่อเข้าสู่จุดสมดุลระหว่างราคายางแต่ละชนิด ก่อนที่จะคงระดับราคา และมีโอกาสที่ทิศทางราคาจะปรับสูงขึ้นได้อีก

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย

       “เรามองว่า ราคายางปัจจุบันเป็นการพักราคาหรือราคาย่อตัวลงมา มันเหมือนกับเป็นการปรับฐานราคาเพื่อเข้าสู่สมดุล เนื่องจากช่วงก่อนหน้าราคายางแผ่นรมควันมีราคาเพิ่มขึ้นสูงเมื่อเทียบกับยางชนิดอื่น แต่ตอนนี้ราคายางถือว่ายืนระดับค่อนข้างคงที่แล้ว และจะมีทิศทางที่ราคายางจะปรับเพิ่มขึ้นได้อีก และหากเมื่อเปรียบเทียบราคาซื้อขายยางของไทยยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคายางของประเทศอื่นๆ” ผู้ว่าการ กยท. กล่าว

อย่างไรก็ตาม จากการติดตามราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ที่ประมูลผ่านตลาดกลางยางพาราของ กยท. พบว่า ราคายางที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงตุลาคม 2566 จนถึงปัจจุบันนั้น ปรากฏมีการย่อตัวของราคาในลักษณะนี้มาแล้ว 2 ครั้ง ก่อนปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และทำจุดสูงสุดใหม่ในวันที่ 19 มีนาคม 2567 ที่ราคา 93.55 บาท/กก. ดังนั้น ในช่วงนี้ที่ราคายางปรับลดลงมา

      ด้าน นางสาวอธิวีณ์ แดงกนิษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจยาง กยท. กล่าวถึงความเชื่อมั่นว่า ราคายางจะปรับตัวสูงขึ้นหลังจากที่มีการพักฐานจากเหตุผล 2 ประการ คือ ความต้องการยางในตลาดโลกเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ “ยางล้อ” ในช่วงไตรมาส 1 และ 2 ผู้ประกอบการต้องการยางเพิ่มขึ้น จึงทำการสต๊อกวัตถุดิบยางเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตส่งมอบไตรมาส 3-4/2567 ในขณะที่ความต้องการใช้ยางสวนทางกับปริมาณผลผลิตในปัจจุบัน โดยเฉพาะในเดือนเมษายนนี้ ที่คาดว่าจะมีผลผลิตยางออกสู่ตลาดเพียง 100,000 ตัน

         นางสาวอธิวีณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อีกปัจจัยที่สำคัญ คือ การจัดระบบข้อมูลเพื่อตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มายางพาราของไทย ตั้งแต่เกษตรกร พิกัดสวนยาง การพัฒนาระบบข้อมูลการซื้อขายยางผ่านตลาดกลางยางพารา จนถึงข้อมูลการส่งออกยาง โดยเชื่อมระบบเข้าด้วยกันสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างเป็นรูปธรรมของ กยท. เพื่อรองรับกฎหมายว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (EUDR) จะสามารถช่วยให้ผู้ซื้อยางใน EU มั่นใจที่จะซื้อยางจากประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นอีก ดังนั้น ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ยางไทยมีแนวโน้มที่สดใสและยังไปได้ต่

การยางแห่งประเทศไทย