กรมส่งเสริมการเกษตร เข้ารับ 18 รางวัลเลิศรัฐ การันตีผลสำเร็จงานส่งเสริมการเกษตร
นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เข้ารับมอบรางวัลเลิศรัฐประจำปี 2567 รวม 18 ผลงาน โดยแบ่งเป็น รางวัลการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 1 ผลงาน และรางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ระดับดีเด่น 12 ผลงาน ระดับดี 5 ผลงาน เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2567 ณ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดยรางวัลดังกล่าว เป็นรางวัลที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มีมติมอบรางวัล ให้กับหน่วยงานที่มีผลการดำเนินการเป็นเลิศ ทั้งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการภาครัฐ การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐและเปิดระบบราชการให้ภาคส่วนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม
นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า สำหรับ 18 ผลงานของกรมส่งเสริมการเกษตร ประกอบด้วย รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รายหมวด จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่ หมวด 1 ด้านการนำองค์การและความรับผิดชอบต่อสังคม รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทเลื่องลือขยายผล ระดับดีเด่น จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่ การบริหารจัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลแม่ตื่นอย่างยั่งยืนด้วยโรงพยาบาลพืชชุมชน โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน และศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่ รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน ระดับดีเด่น จำนวน 11 ผลงาน ประกอบด้วย 1) ข้าวแตนสมุนไพรพันหน้า สร้างมูลค่าแก้จน โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดขอนแก่น 2) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรธรรมชาติปลอดภัย บ้านแม่ปาน-สันเกี๋ยง สูตรสำเร็จแก้จนต้นแบบชุมชนยั่งยืน โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ 3) วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่กาแฟบ้านป๊อกแก้จน กาแฟไทยใจรักป่า โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ 4) ลิ้นจี่นครพนม พืช GI แปลงใหญ่แก้จน โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดนครพนม 5) กาแฟของพ่อฉันกิโลละแปดพันบาทที่บ้านมณีพฤกษ์ โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน 6) ร่วมใจแก้จนกะเพราเงินล้านปทุมธานี โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี 7) มะม่วงน้ำดอกไม้สีทองวังน้ำบ่อร่วมใจแก้จน โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดพิษณุโลก 8) แปลงใหญ่โคนมสารคาม ก้าวข้ามวิกฤตชีวิตมั่งคั่งร่วมใจแก้จน โดยสำนักงานเกษตร จังหวัดมหาสารคาม 9) กระเทียม GI ปายสายน้ำแร่แก้จน โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดแม่ฮ่องสอน 10) สับปะรด GI คนแปลงใหญ่หนองปลาปากใช้แก้จน โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดหนองคาย 11) ทุเรียนมรดกโลกห้วยขาแข้งอุทัยธานี โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดอุทัยธานี รางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทร่วมใจแก้จน ระดับดี จำนวน 4 ผลงาน ประกอบด้วย 1) คุณค่าน้ำมันมะพร้าวชาวใต้ สร้างรายได้สู่ชุมชนโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร 2) ร่วมใจแก้จน คนแปลงใหญ่มังคุด ตำบลท่ามะพลา อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร 3) ข้าวบ้านสุขโข้ ข้าวแก้จนของคนสุโขทัย โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัย 4) ไม้ดอกอุดรเงินทองเบ่งบาน ชาวบ้านหายจน โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี และรางวัลการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทสัมฤทธิผลประชาชนมีส่วนร่วม ระดับดี จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่ ผลงาน Chiang Rai Zero Burn Model โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงราย
ทั้งนี้ ความสำเร็จของกรมส่งเสริมการเกษตรเกิดจากเจ้าหน้าที่ทุกระดับทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมกันทำงานแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย และเกษตรกรในพื้นที่ มีการวิเคราะห์ คน-พื้นที่-สินค้า และใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดการทำงานการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ส่งผลให้สามารถ ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่าใน 4 ปี นอกจากนี้ ยังเป็นการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลัก BCG Model เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลัก SDGs ต่อไป
กรมส่งเสริมการเกษตร