เกษตรเขต 5 Kick Off การจัดการหนอนหัวดำมะพร้าว

47

เกษตรเขต 5 สงขลา บูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วนในจังหวัดสงขลา จัดงาน Kick Off การจัดการหนอนหัวดำมะพร้าวแบบมีส่วนร่วม จังหวัดสงขลา

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 นายภูวเดช วุฒิวงศ์วัฒ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลาเป็นประธานพิธีเปิดงาน Kick Off การจัดการหนอนหัวดำมะพร้าวแบบมีส่วนร่วม จังหวัดสงขลา ณ ศาลาพังเลียบ หมู่ที่ 5 ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และแปลงเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เพื่อสร้างการรับรู้การระบาดหนอนหัวดำมะพร้าวให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในการควบคุม ป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวด้วยวิธีผสมผสานโดยการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 4 สงขลา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา นายอำเภอสทิงพระ หัวหน้าส่วนราชการทุกหน่วยงาน องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อแดง ผู้นำในท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ภายใต้กระทรวงเกษตรกรและสหกรณ์ พี่น้องเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง รวมผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ จำนวน 200 คน

กิจกรรมประกอบด้วยการจัดฐานเรียนรู้การป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวด้วยวิธีผสมผสาน ดังนี้

  • ฐานที่ 1 แผนงานสงขลามหานครมะพร้าวน้ำหอม โดย สำนักงานเกษตรจังหวัด สงขลา
  • ฐานที่ 2 การจัดตั้งเครือข่ายสงขลามหานครมะพร้าวน้ำหอม โดย กองส่งเสริมการเกษตร
  • องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
  •  ฐานที่ 3 การจัดการหนอนหัวดำด้วยวิธีผสมผสาน และการใช้แตนเบียนบราคอนฮีบีเตอร์ควบคุมจัดการหนอนหัวดำมะพร้าว โดย สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร ที่ 5 จังหวัดสงขลา
  • และศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา
  • ฐานที่ 4 การจัดการหนอนหัวดำมะพร้ำวด้วยสารเคมี และการใช้เชื้อ Bacillus thuringiensis (Bt) โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จังหวัดสงขลา
  • ฐานที่ 5 ลักษณะใบมะพร้ำวที่ถูกหนอนหัวดำทำลาย และการตัดทางใบเผา โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา โรงเรียนเกษตรกรมะพร้ำวน้ำหอม ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลชุมพล ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนตำบลบ่อแดง
  • ฐานที่ 6 การจัดการดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกมะพร้ำว โดย สำนักงานพัฒนาที่ดิน เขต 12 สงขลา

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา และสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา ยังคงบูรณาการทุกภาคส่วนในการจัดการหนอนหัวดำมะพร้าวอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานโดยการมีส่วนร่วมตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร และศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ร่วมกับกลุ่มแปลงใหญ่มะพร้าว และเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในพื้นที่ ตลอดจน young smart farmer องค์กรเกษตรกร เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการบริหารจัดการด้วยตนเองอย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนต่อไป

กรมส่งเสริมการเกษตร