กสก. ชูความสำเร็จสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร

61

กรมส่งเสริมการเกษตร ชูความสำเร็จสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนและเกษตรกรรุ่นใหม่ ในงาน “New Engine for New S-curve พลิกโฉมเกษตรไทย สู่เครื่องยนต์เศรษฐกิจ”

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ภาคเกษตรถือเป็นเสาหลักของเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรหลายล้านคน แต่ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการต่อยอดไปสู่ธุรกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่ม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มุ่งพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนและเกษตรกรรุ่นใหม่สู่ผู้ประกอบการเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น โดยบูรณาการการเกษตรเข้ากับแนวคิดธุรกิจสมัยใหม่อย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถสร้าง New S-curve ด้านเกษตรกรรม สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก โดยการสร้างเครื่องยนต์เศรษฐกิจใหม่ เกษตรอุตสาหกรรมและธุรกิจเกษตร เพื่อให้เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้ประเทศไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคการเกษตรได้อย่างมหาศาล

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้ขับเคลื่อนนโยบาย
รัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม โดยพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ และวิสาหกิจชุมชน
สู่ผู้ประกอบการเกษตร (Agriperneurs) ที่มีทักษะสำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ Growth Mindset and Anti Fragile, Learning Skill, Financial Literacy, Digital Literacy และ ESG Literacy for Resilience เพื่อให้สามารถเรียนรู้ ประยุกต์ใช้
ในการแก้ปัญหาจากประสบการณ์จริง เพื่อปรับเพิ่มผลิตภาพการผลิต พร้อมกับการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์
ทางการเกษตร สู่การเป็นสินค้าเกษตรมูลค่าสูง เพื่อสร้าง New Agricultural S Curve เกิดเป็นรายได้ใหม่ที่นำไป
สู่ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตรที่เติบโตขึ้นในอนาคตอันใกล้

อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า โจทย์สำคัญของการขับเคลื่อน คือ เกษตรกรผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ในห่วงโซ่อุปทานจะต้องมีความตระหนักถึงผลกระทบ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีทัศนคติเชิงบวก และพัฒนา
ทักษะสมัยใหม่อยู่เสมอ เพื่อบรรเทาผลกระทบและสามารถปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ระบบเศรษฐกิจที่มีการเชื่อมต่อกันของผู้บริโภคและมาตรฐานสิ่งแวดล้อม สร้างโอกาสให้ภาคการเกษตรของไทย
ในการเข้าร่วมห่วงโซ่อุปทานสินค้าที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น ธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ ธุรกิจพลังงานชีวมวล ธุรกิจวัสดุชีวภาพ ธุรกิจเวชสำอาง ธุรกิจเภสัชภัณฑ์

โดยภายในงานมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรรุ่นใหม่และวิสาหกิจชุมชน รวม 15 ธุรกิจ ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาภายใต้โครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมและยกระดับเกษตรกรรุ่นใหม่และวิสาหกิจชุมชน
สู่ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร เช่น โมเดลธุรกิจน้ำกระชายกระป๋องอัดก๊าซ จากวิสาหกิจชุมชนภูริธาราพรรณ
จังหวัดสระบุรี โมเดลธุรกิจสแน็คบาร์กล้วย วิสาหกิจชุมชนบ้านกุ่มพัฒนา จังหวัดราชบุรี โมเดลธุรกิจกาแฟแคปซูล
จากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปกาแฟสดสตรีคลองท่อมเหนือ จังหวัดกระบี่, โมเดลธุรกิจ เจลลี่ผำ จาก Young Smart Farmer นายณัฐวุฒิ จันทร์เรือง จังหวัดจันทบุรี,โมเดลธุรกิจ ไซรัปวนิลา จาก Young Smart Farmer นางสาวพาพร
โตอินทร์ จังหวัดนครราชสีมา และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากเกษตรกรรุ่นใหม่และวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จ
ทางธุรกิจ จำนวน 10 ธุรกิจ เช่น ลำไยฟรีซดรายสอดไส้สตรอเบอรี่ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบกรอบ กระเจี๊ยบกรอบ
น้ำมะนาวพร้อมดื่ม เลม่อนมีฟาร์ม ข้าวเกรียบปูนา เครื่องดื่มกล้วยผงสำเร็จรูป ผงโรยข้าว สูตรผักเคลผสมปลา
และน้ำผักโขมผสมฟักทอง เป็นต้น

กรมส่งเสริมการเกษตร